1.1 ที่ตั้ง (ดูแผนที่ประกอบในภาคผนวก)
องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากลาง ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้นที่ 5 ระยะห่างจากอำเภอปัว ประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลศิลาแลง , วรนคร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศิลาเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ศิลาแลง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลปัว , ยม ( อ.ท่าวังผา )
1.2 เนื้อที่ – ตำบลป่ากลางมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 21.87 ตารางกิโลเมตร ( 13,670.99 ไร่ )
1.3 ภูมิประเทศ – ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูงเชิงเขาขาดแคลนน้ำ ตามธรรมชาติ ร้อยละ 10 ของพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย ร้อยละ 90 เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร
– ลักษณะภูมิอากาศ – ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อนจัด อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 30 องศา
– ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 10.390 มม. / ปี
– ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 15 องศา
1.4 จำนวนหมู่บ้าน มี 7 หมู่บ้าน
– จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน ได้แก่
– บ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 1
– บ้านห้วยสะนาว หมู่ที่ 2
– บ้านค้างฮ่อ หมู่ที่ 3
– บ้านจูน หมู่ที่ 4
– บ้านตาหลวง หมู่ที่ 5
– บ้านสวนทราย หมู่ที่ 6
– บ้านป่ากลาง หมู่ที่ 7
1.5 ประชากรมีจำนวน ทั้งสิ้น 8,354 คน แยกเป็นชาย 4,200 คน คิดเป็นร้อยละ 50.27 หญิง 4,154 คน คิดเป็น ร้อยละ 49.63 (**ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง ณ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 อนุเคราะห์ข้อมูลจาก สำนักทะเบียน อำเภอ ปัว )
ตารางแจกแจงประชากร/แจกแจงรายหมู่บ้าน
ลำดับที่ | ชื่อหมู่บ้าน | หมู่ที่ | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนครัวเรือน |
1 | น้ำเปิน | 1 | 787 | 742 | 1,529 | 328 |
2 | ห้วยสะนาว | 2 | 473 | 465 | 938 | 214 |
3 | ค้างฮ่อ | 3 | 490 | 476 | 966 | 192 |
4 | จูน | 4 | 339 | 339 | 678 | 156 |
5 | ตาหลวง | 5 | 243 | 260 | 503 | 181 |
6 | สวนทราย | 6 | 1,359 | 1,391 | 2,750 | 450 |
7 | ป่ากลาง | 7 | 642 | 644 | 1,286 | 225 |
รวม | 4,333 | 4,317 | 8,650 | 1,746 |
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงชั้นอายุ | เพศชาย | เพศหญิง | รวม ปี 57 | รวม ปี 58 | รวม ปี 62 | ||||
ปี 57 | ปี 58 | ปี 62 | ปี 57 | ปี 58 | ปี 62 | ||||
0 – 5 ปี | 498 | 506 | 538 | 438 | 465 | 470 | 930 | 971 | 1,008 |
6 – 12 ปี | 474 | 525 | 561 | 457 | 436 | 523 | 923 | 961 | 1,084 |
13 – 15 ปี | 248 | 203 | 205 | 228 | 223 | 168 | 474 | 426 | 373 |
16 – 18 ปี | 237 | 257 | 192 | 290 | 250 | 205 | 527 | 507 | 397 |
19 – 59 ปี | 2,182 | 2,308 | 2,467 | 2,153 | 2,305 | 2,475 | 4,335 | 4,613 | 4,942 |
60 – 69 ปี | 146 | 164 | 204 | 176 | 190 | 233 | 322 | 354 | 437 |
70 ปีขึ้นไป | 115 | 129 | 136 | 122 | 155 | 187 | 237 | 284 | 323 |
รวม | 3,900 | 4,091 | 4,303 | 3,864 | 4,024 | 4,261 | 7,764 | 8,116 | 8,564 |
ที่มา : ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง สำนักทะเบียน อำเภอปัว
ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพ
– การเกษตรกรรม พื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 9,388ไร่
– ราษฎร ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
– ราษฎร ร้อยละ 20 ประกอบอาชีพค้าขาย
– ราษฎร ร้อยละ 10 ประกอบอาชีพรับจ้าง , รับราชการ ,และอื่นๆ
2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
– ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก 4 แห่ง
– โรงงานอุตสาหกรรม – แห่ง
– โรงสี 10 แห่ง
3. สภาพสังคม
3.1 การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
– โรงเรียนมัธยม 1 แห่ง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
– ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 3 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์การทางการศาสนา
– วัด/สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ประชาชนถือพุทธ ร้อยละ 80
– โบสถ์คริสต์ 5 แห่ง ประชาชนถือคริสต์ ร้อยละ 20
3.3 การสาธารณสุข
– รพ.สต.ป่ากลาง 1 แห่ง
– ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 แห่ง
– โรงพยาบาลของรัฐ- แห่ง
– อัตราการมีการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 90
– อัตราการมีน้ำสะอาดดื่มและบริโภค ร้อยละ 90
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– หน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธร อำเภอปัว ประจำตำบลป่ากลาง จำนวน 1 แห่ง
4. การบริหารพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
– ตำบลป่ากลางมีสภาพถนนใช้ติดต่อกับทางอำเภอสะดวกทั้งในฤดูฝนและฤดูร้อน ส่วนการสัญจรติดต่อกับตำบลศิลาเพชรในฤดูฝนไม่สะดวก
4.2 การโทรคมนาคม
– ตู้โทรศัพท์สาธารณ จำนวน 8 ตู้
4.3 การไฟฟ้า
– จำนวนที่ใช้ไฟฟ้า 6 หมู่บ้าน ประชาชนกร 7,515 คน
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ห้วยน้ำหมู
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– บ่อน้ำตื้น จำนวน 170 แห่ง
– บ่อโยก จำนวน 4 แห่ง (ปัจจุบันใช้การไม่ได้)
– อ่างเก็บน้ำ/สระน้ำ จำนวน 10 แห่ง (อ่างนิวซีแลนด์, อ่างหก ,อ่างห้วยทรายขาว,อ่างต้นหมื่น,อ่างห้วยน้ำ,อ่างหนองทราย,สระน้ำ,กสช หมู่ที่ 1,4,6
4.6 หมูู่บ้านที่มีน้ำประปา จำนวน 2 หมู่บ้าน บ้านน้ำเปิน หมู่ 1 และ บ้านสวนทรายหมู่ 6
4.7 หมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปา จำนวน 4 หมู่บ้าน บ้านค้างฮ่อ หมู่ 3 บ้านจูน หมู่ 4 และบ้านตาหลวง หมู่ 5
5. ข้อมูลอื่นๆ
5.1 ทรัพย์พยากรณ์ธรรมชาติ
– ป่าชุมชน จำนวน 2 แห่ง (บ้านป่ากลาง 45 ไร่,บ้านจูน – บ้านตาหลวง25 ไร่)
5.2 มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น จำนวน 400 คน
– อปพร. 2 รุ่น จำนวน 150 คน
– องค์กรเครือข่ายป่าไม้และที่ดินป่ากลาง จำนวน 270 คน
6. ศักยภาพในตำบล
ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลป่ากลาง
1. จำนวนบุคลากร 26 คน แยกเป็น
– ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 5 คน
– ตำแหน่งส่วนการคลัง 3 คน
– ตำแหน่งส่วนโยธา 1 คน
– ตำแหน่งในส่วนการศึกษา 1 คน
– พนักงานจ้างตามภารกิจ 15 คน
– – พนักงานจ้างทั่วไป 1 คน
2. ระดับการศึกษา
– มัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา 2 คน
– ปริญญาตรี 22 คน
– ปริญญาโท 2 คน
3. รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่ากลาง
– ประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน – บาท แยกเป็น
– รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง จำนวน – บาท
– เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน – บาท
– รายได้ที่หน่วยงานราชการอื่นจัดเก็บรายให้ จำนวน – บาท
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1. การรวบกลุ่มของประชาชน อำนวย กลุ่มทุกประเภท แยกประเภทกลุ่ม
– กลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม
– กลุ่มออมทรัพย์ 6 กลุ่ม
– กลุ่มอื่นๆ 12 กลุ่ม
ตำบลป่ากลาง ประกอบด้วยชาวไทยภูเขา 3 เผ่าม้ง เผ่าเมี่ยน และเผ่าลั๊วะ ทำให้มีความหลากหลายในด้านวัฒนธรรมประเพณี เช่นประเพณีปีใหม่ม้งประเพณีปีใหม่เมี่ยน ประเพณีกินสะโหลดตีพิ ในด้านการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตำบลป่ากลางถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของอำเภอ ปัว ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ มะขาม ลำไย นอกจากนี้ ยังมีหัตถกรรมในครัวเรือนของชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่าเมี่ยน เช่นหัตถกรรมผ้าปักชาวเขา ผ้าเขียน ลายขี้ผึ้ง และหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ มีความประณีตและสวยงาม ทำให้ตำบลป่ากลางเป็นที่รู้จักแพรหลายในฐานะเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มี ชื่อเสียง แหล่งหนึ่งของจังหวัดน่าน ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของอำเภอและจังหวัดต่อไป
4,155 total views, 2 views today