- ประวัติ อบต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน
ตำบลป่ากลางเป็นตำบลที่แยกมาจากตำบลศิลาแลงเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน ประกอบด้วย 6 หมู่บ้านได้แก่ บ้านน้ำเปิน , บ้านห้วยสะนาว , บ้านค้างฮ่อ . บ้านจูน , บ้านตาหลวง และบ้านสวนทราย ซึ่งอพยพหนีจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2510 ตำบลป่ากลางมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ศิลาแลง, ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน
ทิศใต้ ติดกับ ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ปัว อ.ปัว, ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ตำบลป่ากลางประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 3 ชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง อาศัยอยู่ในบ้านน้ำเปิน บ้านค้างฮ่อ บ้านสวนทราย กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน อาศัยอยู่ในบ้านห้วยสะนาว ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ อาศัยอยู่ในบ้านจูน และบ้านตาหลวง ทำให้ตำบลป่ากลางมีวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยว และบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ม้ง เมี่ยน ลัวะ
ประวัติแต่ละหมู่บ้าน
- หมู่ที่ 1 บ้านน้ำเปิน
ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้าน อพป. บ้านน้ำเปิน เดิมตั้งอยู่ที่บ้านน้ำเปิน ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง ณ บริเวณลำห้วยน้ำเป็นสายสั้นๆ ที่มีน้ำมากไหลตลอดทั้งปี และได้ไหลลงสู่เหวลึกใต้ดินลงไป พื้นที่เป็นภูเขา สลับซับซ้อน พื้นที่ดังกล่าวนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอทุ่งช้าง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
ปี พ.ศ. 2479 จึงได้รับจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ชาวบ้านน้ำเปินได้อยู่อย่างสงบจนถึงปี พ.ศ. 2511 ได้ถูกคุกคามจาก ผ.ก.ค. ทางราชการจึงได้ประกาศให้อพยพมาอยู่ที่บ้านป่ากลาง หมู่ที่ 19 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2526 ได้แยกเป็นหมู่บ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 21 ตำบลศิลาแลง มาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้าน อพป. คำว่า “ป่ากลาง” ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการให้เป็น ตำบลป่ากลาง หมู่บ้าน อพป. บ้านน้ำเปิน เป็นหมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง
การปกครอง
บ้านน้ำเปินมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายหวังเชา แซ่โซ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 – 2511
2. นายเจริญ แซ่โซ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 – 2529
3. นายวะลู แซ่โซ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 – 2537
4. นายนพดล แสนทรงศิริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 – 2547
5. นายนพดล แสนทรงศิริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2552
6. นายศิลปไชย แซ่โซ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – (ปัจจุบัน)
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านหัวดอย หมู่ที่ 6 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านห้วนสะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันออก จดบ้านตีนตก หมู่ที่ 4 , บ้านหัวน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านจูน หมู่ที่ 4 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ประชากร
บ้านน้ำเปินมีประชากรทั้งหมด 1,568 คน เป็นชาย 769 คน หญิง 799 คน มี. 282 หลังคาเรือน
ภาษา ม้ง
อาชีพ ปักผ้า , ผ้าเขียนเทียน , เครื่องเงิน
ประเพณี ปีใหม่ สู่ขวัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าเขียนเทียน ผ้าปัก เครื่องเงิน
- หมู่ที่ 2 บ้านห้วยสะนาว
ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านห้วยสะนาว ครั้งเมื่ออดีต ตั้งอยู่บนดอยสูงที่ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ในปี พ.ศ. 2510 ถูกภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึมเข้ามาหมู่บ้านใกล้เคียง ทางราชการจึงสั่งให้ชาวบ้านราษฎร อพยพลงมาที่ตำบลงอบอย่างเร่งด่วน ภายใน 48 ชั่วโมง และพักอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ย่างเข้าปี พ.ศ. 2511 ทางราชการจึงให้ย้ายมาอยู่ในศูนย์อพยพชาวเขาป่ากลาง ในขณะนั้นมีนายพุโจง แซ่เตน ซึ่งเป็นผู้นำในเวลานั้นกับแกนนำหลายท่านช่วยกันดูแลช่วยเหลือ ประสานงานกับทางราชการ ทางการจัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ ที่อาศัย 1 งาน มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์สงเคราะห์ชาวเขาดูแลอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2516 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2516 ทางหมู่บ้านได้รับการแต่งตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ
การปกครอง
บ้านห้วยสะนาวมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายฟุโจง แซ่เตน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 – 2530
2. นายธวัชชัย จารุประภัสสร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 – 2534
3. นายกมล แซ่เตน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 – 2541
4. นายต่วน โชติชัยพิบูลย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 – 2543
5. วิรุฬ ค่าพานิช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2552
6. นายสิทธิพร ลี้ศรีสวัสดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2560
7. นายวิทยา แซ๋จ่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – (ปัจจุบัน)
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านค้างฮ่อ หมู่ที่ 3 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันออก จดบ้านตีนตก หมู่ที่ 4 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านจูน หมู่ที่ 4 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ประชากร
บ้านห้วยสะนาวมีประชากรทั้งหมด 972 คน เป็นชาย 488 คน หญิง 484 คน มี 170 หลังคาเรือน
ภาษา เมี่ยน
อาชีพ ทำไร่ , ทำสวน
ประเพณี ตรุษจีน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องเงิน ผ้าปัก
- หมู่ที่ 3 บ้านค้างฮ้อ
ประวัติความเป็นมา
บ้านค้างฮ่อเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2410 มีผู้ใหญ่บ้านจำนวน 8 คน เดิมอยู่ที่บ้านต้นค้างฮ่อตั้งอยู่ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่บนดอย มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง การสัญจรไปมาลำบาก คำว่า “ค้างฮู” เป็นภาษาจีนฮ่อซึ่งมีความหมายว่า “ลำห้วยที่แห้งแล้ง” ต่อมาพูดเพี้ยนเป็น “ค้างฮ่อ” ทั้งนี้เพราะสถานที่หมู่บ้านค้างฮ่อในช่วงฤดูร้อน ลำห้วยทุกสายจะแห้งแล้ง เพราะน้ำซึมลงไปใต้ดินหมด ทั้งนี้พื้นที่ทั้งหมดเป็นดินร่วนปนทรายจึงไม่อุ้มน้ำ
ต่อมาปี พ.ศ. 2510 เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระส่าย นายเชิดชู กิตติยังกุล(เลาต๋า แซ่ย่าง) ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นได้ประสานงานกับทางราชการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน และทหารเพื่อขอความช่วยเหลือหาแนวทางแก้ปัญหาจนถึงในที่สุดก็ได้ส่งคณะผู้แทนประชาชนในหมู่บ้าน มาสำรวจพื้นที่ที่ว่างเปล่าในเขตตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านเรียกว่า “ป่ากลาง” เมื่อผู้แทนกลับไปบ้านค้างฮ่อได้ปรึกษาหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ทางราชการและประชาชนในพื้นที่จึงได้อพยพลงมาตั้งมั่นที่ป่ากลาง และสมทบกับหมู่บ้านอื่นที่อพยพลงมาก่อนแล้ว โดยบ้านค้องฮ่อเป็นหมู่ที่ 3 ของตำบลป่ากลางในปัจจุบัน
การปกครอง
บ้านค้างฮ้อมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายช่งแจ่ง แซ่รี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 – 2435
2. นายชัยยี แซ่รี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2458
3. นายฟางเฉ่า แซ่รี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 – 2465
4. นายจ้ายิ้ง แซ่รี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 – 2480
5. นายแสนพรหม แซ่ย่าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 – 2490
6. นายแสนคำแพ แซ่ย่าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 – 2495
7. นายเชิดชู กิตติยังกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 – 2516
8. นายสุพจน์ คีรีสันติกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 – 2520
9. นายสมหมาย กิตติยังกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 – 2527
10. นายวิโรจน์ คีรีสันติกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 – 2542
11. นายสุรเดช ยังแสง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – 2547
12. นายบุญเลิศ กิตติยังกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2552
13. นายอนุวัฒน์ แสนคำแพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2560
14. นายสุุจริต ปั้นกิจวานิชเจริญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านห้วยสะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านทุ่งศรีบุญยืน หมู่ที่ 1 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว
ทิศตะวันออก จดบ้านห้วยสะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านนานิคม หมู่ที่ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
ประชากร
บ้านค้างฮ้อมีประชากรทั้งหมด 1,885 คน เป็นชาย 946 คน หญิง 939 คน มี 310 หลังคาเรือน
ภาษา ม้ง
อาชีพ ค้าขาย(อาชีพหลัก) , ทำไร่ ,ทำสวน
ประเพณี การแต่งงาน , ปีใหม่ , ประกอบพิธีงานศพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าเขียนเทียน เครื่องเงิน สมุนไพร เครื่องประดับทองเหลือง
- หมู่ที่ 4 บ้านจูน
ประวัติความเป็นมา
บ้านจูนประกอบด้วย 2 หมู่บ้านอยู่ด้วยกันคือ บ้านจูนเดิมและบ้านตาน้อย ในสมัยนั้นมีนายเป็ง พนะสันเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านจูน ในปี พ.ศ. 2511 ถูกคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จึงหนีมาที่บ้านซะกาด ตำบลภูคา อำเภอปัว ชาวบ้านจูนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านซะกาดได้ 1 ปีก็ลงมาพักอยู่กับญาติที่หนีลงมาก่อนที่บ้านป่ากลาง
บ้านตาน้อยเดิมอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว โดยมีนายคำ ณ ชนเป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ได้ถูกคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จึงหนีมาอยู่ที่บ้านป่ากลางและทางราชการจึงให้อยู่รวมกับบ้านจูนซึ่งได้อพยพมาก่อนในปี พ.ศ. 2523
การปกครอง
บ้านตาน้อยมีผู้ใหญ่บ้านดังนี้
1. นายคำ ณ ชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 – 2514
2. นายมั่น ณ ชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 – 2523
3. นายหล้า ณ ชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 – ได้รวมกับบ้านจูนในสมัย
นายพงษ์ไพร สุวรรณศิคริน เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น
บ้านจูนมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายเป็ง พนะสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2. นายสน พนะสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.
3. นายพงษ์ไพร สุวรรณศิคริน ตั้งแต่ปี พ.ศ.
4. นางทอง แซ่เต็น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2549
5. นายกันต์ศักดิ์ พนะสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2553
6. นายประวันวิทย์ คณิตสากล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – (ปัจจุบัน)
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านเก็ต หมู่ที่ 2 ตำบลวรนคร อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านห้วยสะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันออก จดบ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านตาหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ประชากร
บ้านจูนมีประชากรทั้งหมด 606 คน เป็นชาย 298 คน หญิง 308 คน มี 168 หลังคาเรือน
ภาษา ลัวะ
อาชีพ ทำไร่ , ทำสวน
ประเพณี สู่ขวัญข้าว
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องจักสาน เช่น กระติ๊บข้าว กระบุง ใบพัดข้าว
- หมู่ที่ 5 บ้านตาหลวง
ประวัติความเป็นมา
บ้านตาหลวงหรือบ้านตาป่าซางในสมัยก่อน เดิมเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นอยู่กับตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2512 ถูกคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยมีนายหล้า ยอดออนเป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ได้พาชาวบ้านมาอยู่ที่ว่าการอำเภอปัว และย้ายมาพักที่โรงเรียนบ้านแก้ม(วรนครปัจจุบัน) ทางราชการจึงให้มาอยู่ที่ข้างสนามบิน(ข้างโรงเรียนมัธยมป่ากลางปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2522 ทางราชการจึงจัดสรรที่ดินที่ครอบครัวละ 10 ไร่เป็นที่ทำมาหากิน และที่อยู่อาศัยอีกครอบครัวละ 1 งาน สำหรับผู้ที่หนีไม่ทันถูกควบคุมไว้และเป็นเครื่องมือของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้หลบซ่อนจนตั้งเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยหมู่บ้านตาหลวงป่าซางในปัจจุบัน และได้หลบซ่อนอยู่ในป่าจนถึงปี พ.ศ. 2525 ได้มีโอกาสออกมามอบตัวกับทางราชการ ทำให้พี่น้องที่พลัดพรากจากกันได้พบกันอีกครั้ง จนเป็นบ้านตาหลวงหมู่ที่ 5 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในปัจจุบัน
การปกครอง
บ้านตาหลวงมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายหล้า ยอดออน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 – 2512
2. นายรัตน์ศิลป์ ณ ชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512- 2533
3. นายสมศักดิ์ ยอดออน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 – 2541
4. นายเติ่ง ยอดออน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 – 2552
5. นายสมศักดิ์ รินแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552(ปัจจุบัน)
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านเก็ต หมู่ที่ 2 ตำบลวรนคร อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านน้ำฮาว หมู่ที่ ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา
ทิศตะวันออก จดบ้านจูน หมู่ที่ 4 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านไร่รวงทอง หมู่ที่ ตำบลปัว อำเภอปัว
ประชากร
บ้านตาหลวงมีประชากรทั้งหมด 408 คน เป็นชาย 210 คน หญิง 198 คน มี 134 หลังคาเรือน
ภาษา ลัวะ
อาชีพ ทำไร่ , ทำสวน
ประเพณี สโหลด
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องจักสาน เช่น กระบุง
- หมู่ที่ 6 บ้านสวนทราย
ประวัติความเป็นมา
บ้านสวนทรายแยกมาจากบ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง ในปี พ.ศ. 2542 คำว่า “สวนทราย” มาจากแต่ก่อนที่ตั้งหมู่บ้านเป็นสวนมะม่วงของชาวบ้าน และมีบ่อทรายซึ่งมีน้ำตลอดปี ชาวบ้านใช้น้ำในบ่อในการอุป
โภคและบริโภค เมื่อมาตั้งเป็นหมู่บ้านก็นำเอาชื่อบ่อน้ำมาเป็นชื่อของหมู่บ้าน โดยมีนายเสริมศักดิ์ อัศวเจริญกุล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และเป็นหมู่บ้านที่ 6 ของตำบลป่ากลาง
การปกครอง
บ้านสวนทรายมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านดังนี้
1. นายเสริมศักดิ์ อัศวเจริญกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – 2547
2. นายชูชาติ ทรงสิริกุล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – 2552
3. นายสมพงษ์ ทิวานันท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดบ้านตีนตก หมู่ที่ 4 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว
ทิศใต้ จดบ้านห้วยสะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ทิศตะวันออก จดบ้านหัวน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว
ทิศตะวันตก จดบ้านน้ำเปิน หมู่ที่ 1 ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว
ประชากร
บ้านสวนทรายมีประชากรทั้งหมด 1,742 คน เป็นชาย 857 คน หญิง 885 คน มี 282 หลังคาเรือน
ภาษา ม้ง(ม้งเขียว,ม้งขาว) อาชีพ ทำไร่ , ทำสวน , ปักผ้า
ประเพณี แต่งงาน , ปีใหม่ , พิธีทำผี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าปัก , การเป่าแคน
15,966 total views, 4 views today