วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ในการพัฒนา
ตำบล ป่ากลาง  น่าอยู่  เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี  อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น  และพัฒนาคนสู่โลกาภิวัฒน์

พันธกิจหลักการพัฒนา
1.  จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก  พัฒนาแหล่งน้ำ  จัดหาแหล่งน้ำ  ให้มีน้ำกินน้ำ ใช้และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ
2.  จัดให้มีการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน  และมีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า ของชุมชน
3.  พัฒนาส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิต  ด้านสังคม  การศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น การกีฬาและนันทนาการ
4.  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
5.  การสังคมสงเคราะห์ และแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต  เด็ก  สตรี  คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
6.  การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน
7.  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ/ส่งเสริมสุขภาพประชาชน
8.  จัดให้มีและบำรุงรักษา  การกีฬา  การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
9.  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
10.  จัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างเพียงพอ
11.  คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ยุทธศาสตร์
  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน โครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจ
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการ
  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    – พันธกิจ
    จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก  พัฒนาแหล่งน้ำ  จัดหาแหล่งน้ำ  ให้มีน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

                    – เป้าประสงค์   

  1. เพื่อให้การคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
  2. เพื่อให้มีไฟฟ้าสาธารณะสว่างเพียงพอและมีการขยายเขตไฟฟ้าทั่วถึง
  3. เพื่อให้มีแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ

                 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์  ร้อยละของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตำบลป่ากลางที่เพิ่มขึ้น

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1. พัฒนาเส้นทางคมนาคมให้ได้มาตรฐาน จำนวนระยะทางถนน คสล. และรางระบายน้ำเพิ่มขึ้น
2. จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร จำนวนประปาหมู่บ้าน และแหล่งน้ำพื้นใช้ในการเกษตรมีจำนวนเพิ่มขึ้น
3. ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะและขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึง จำนวนครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้น
4. ก่อสร้าง / ต่อเติม โครงสร้างพื้นฐาน จำนวนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้รับการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

-หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

กองช่าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ความเชื่อมโยง

ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว

รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพและพัฒนาเศรษฐกิจ

– พันธกิจ

จัดให้มีการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน  และมีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของชุมชน

– เป้าประสงค์   

เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียง  มีความมั่นคง และยั่งยืน ในการดำรงชีวิต

ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

ร้อยละของประชาชนที่มีรายได้ไม่ตกเกณฑ์ จปฐ ลดลง

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1.      ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชน จำนวนประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ตกเกณฑ์ จปฐ ลดลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น

-หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

สำนักงานปลัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ความเชื่อมโยง

ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่

  1. 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

– พันธกิจ

พัฒนาส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิต  ด้านสังคม  การศึกษา  การกีฬา นันทนาการ

– เป้าประสงค์   

  1. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมสังคมสงเคราะห์ และแผนพัฒนา คุณภาพชีวิต  เด็ก  สตรี  คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน
  3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ให้เด็กสามารถจบการศึกษาขั้นพื้นฐานและเป็นคนดีของสังคมและพ่อแม่ สามารถดำเนินชีวิตในสังคมโดยพึ่งตนเองได้
  4. เพื่อป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ/ส่งเสริมสุขภาพประชาชน
  5. เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับเยาวชนและประชาชน
  6. เพื่อจัดให้มีและบำรุงรักษา การกีฬา  การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ

                   ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

ร้อยละของประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น ปัญหายาเสพติดลดลง เยาวชนได้รับการศึกษาทุกคน ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรง

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1. ส่งเสริมพัฒนาด้านการสงเคราะห์ประชาชน ผู้ด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพิ่มขึ้น
2. ส่งเสริมการแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดลดลง และเยาวชนเป็นคนดีในสังคม
3. ส่งเสริมการศึกษา เยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นคนดีในสังคม
4. ส่งเสริมพัฒนากิจการด้านสาธารณะสุข ประชาชนได้รับการตรวจสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ
5. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนและประชาชน ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น
6. ส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย ประชาชนมีสถานที่ออกกำลังกาย และมีสุขภาพแข็งแรง

-หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

สำนักงานปลัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ความเชื่อมโยง

ยุทธศาสตร์จังหวัด : ยุทธศาสตร์ที่ 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 – พันธกิจ

พัฒนาส่งเสริมด้านอนุรักษ์ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

– เป้าประสงค์   

  1. ส่งเสริม อนุรักษ์ การจัดงานตามประเพณีและส่งเสริมการท่องเที่ยวประเพณีวัฒนธรรม
  2. มีศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่า ของตำบลให้เป็นสถานที่เรียนรู้วัฒนธรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยว
  3. ฝึกสอนอบรมให้ความรู้เยาวชนให้รู้จักรักเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง

                   ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

ร้อยละของการอนุรักษ์ ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1. ส่งเสริมการจัดงานตามประเพณีและส่งเสริมการท่องเที่ยวประเพณีวัฒนธรรม ประชาชนอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างยั่งยืน
2. ก่อสร้างและปรับปรุงสถานที่ประกอบพิธีกรรม/ศูนย์วัฒนธรรมตำบลและชนเผ่า ประชาชนมีสถานที่ประกอบพิธีกรรมและศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่า ม้ง เมี่ยน ลัวะ เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
3. ฝึกสอนอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม เยาวชนสามารถสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

-หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ความเชื่อมโยง

ยุทธศาสตร์จังหวัด :

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– พันธกิจ

คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– เป้าประสงค์   

เพื่อให้ตำบลป่ากลางสามารถลดปริมาณขยะ มีการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และดูแลบำรุงรักษาป่าชุมชน

                   ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

ร้อยละของการอนุรักษ์ และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริการจัดการขย

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1. บริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล มีการคัดแยกขยะ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ มากขึ้น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่สีเขียวพื้นขึ้น ลดการตัดไม้ทำลายป่า
3. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบน้ำเสีย ไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงในอ่างเก็บน้ำและลำห้วย

-หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

สำนักงานปลัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ความเชื่อมโยง

ยุทธศาสตร์จังหวัด :

ยุทธศาสตร์ที่ 1 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

 

รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการ

– พันธกิจ

เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บริหารจัดการและบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

– เป้าประสงค์   

เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ และบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาธิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนมีส่วนร่วม

                   ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์

ร้อยละของการมีส่วนร่วมของประชาชน และการป้องกันบรรเทาสาธารภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์

กลยุทธ์ / แนวทางพัฒนา ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์
1.สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาร่วมบูรณาการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชน ประชาชนให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
2.สนับสนุนส่งเสริม งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.พัฒนาส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานได้อย่างโปรงใส่
4.จัดหา/จัดซื้อ/ซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และเครื่องจักรกลที่จำเป็นสำหรับการ ปฏิบัติงาน และพัฒนาขีดความสามารถ มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Loading