ประเพณีสโหลดตีพิ บ้านตาหลวง

ภาพกิจกรรม

ประวัติความเป็นมาของประเพณีตีพิ
“ตีพิ”  เป็นประเพณีของชนเผ่าลั๊วะซึ่งจะตีในระหว่างการแบกข้าวเปลือกกลับบ้าน   เป็นการเรียกขวัญข้าวออกจากไร่เพื่อนำไปเก็บยังยุ้งฉางที่บ้านหรือพื้นที่ ทำกินที่ใกล้กับไร่ของตน  ชาวลั๊วะในสมัยก่อนจะทำพิธีนี้ในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ของทุกปี  ซึ่งเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต  แต่เดิมนั้นการเรียกขวัญข้าวก็คือการแบกข้าวเปลือกซึ่งบรรจุในกระบง หรือบางบ้านก็จะบรรจุลงในถุงย่ามที่ทอด้วยผ้า  สาเหตุที่ต้องมีการตีพิระหว่าง การแบกกระสอบข้าวกลับบ้านนั้นก็เพื่อให้เกิดความสบายใจไม่เหน็ดเหนื่อย  และอีกทั้งยังสร้างความเพลิดเพลินในขณะที่กำลังแบกข้าวเปลือกซึ่งมีน้ำหนักมากอีกด้วย  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถึงที่หมายไวในสมัยก่อนชาวลั๊วะจะต้องแบกข้าว เปลือกเดินเรียงตามกันเป็นแถว ใช้เวลาหลายชั่วโมง  กว่าจะทยอยขนข้าวกลับบ้านต้องใช้เวลานานอยู่หลายวันข้าวจึงจะหมด  ซึ่งในระหว่างการแบบข้าวเปลือกนั้นผู้ที่แบกก็จะทำการตีพิไปด้วยเสียงตีพิก็ จะดังก้องตามไหล่เขา  ซึ่งก็จะมีการเรียกพิไปตามขนาดของไม้ไผ่  ไม้พิตัวที่ยาวที่สุดคู่แรกเรียกว่า พิตัวแม่  และอีกสามคู่ที่เหลือเรียกว่าพิตัวลูก ใช้จำนวนผู้ตีทั้งหมด 4 คน คนละ 2 อัน ทำจากไม้ไผ่  และแต่ละคนก็จะมีไม้สำหรับตี คนละ 1 อัน ทำมาจากไม้สบู่ดำ  ก่อนที่จะมีการตีพิจะมีพิธีที่มาจากความเชื่อของชนเผ่าลั๊วะดังต่อไปนี้
1.   พิธีหาพื้นที่ปลูกข้าว เรียกว่า ”พิธีและแซ”
2.   พิธีปลูกข้าวหรือใส่พันธุ์เมล็ดข้าวเปลือกลงในหลุมเตรียมปลูก  เรียกว่า “พิธีแซ่ดแซ”
3.   พิธีสู่ขวัญข้าว   เรียกว่า  ”พิธีซะโหลด”
4.   พิธีสู่ขวัญข้าวที่ออกรวงชาวบ้านเรียกพิธีสู่ขวัญดอกข้าว  เรียกว่า  “รางซา”
5.   พิธีนำข้าวใหม่ไปเซ่นเจ้าที่  เรียกว่า “ค่าวเม่า”  (คั่วข้าวเม่า)
6.   สุด ท้ายเป็นพิธีการตีพิ เรียกว่า  “เลิกกรอง”  ซึ่งชาวลั๊วะเรียกกันว่าพิธีดอกด้ายดอกแดง  ทำเพื่อเรียกขวัญข้าวและขวัญเจ้าของไร่กลับบ้าน  หากบ้านไหนไม่ทำตามความเชื่อดังกล่าวคนในบ้านก็จะมีอันเป็นไปเมื่อทำการ ขนข้าวเปลือกออกจากไร่หมดแล้ว  เจ้าของก็จะนำไก่  เหล้าขาวที่ต้มเอง  ไปเลี้ยงเซ่นไหว้เพื่อเป็นการเรียกขวัญข้าวกลับบ้าน  พร้อมกับเชิญเพื่อนบ้านมารับประทานอาหารที่บ้านของตนเป็นอันเสร็จพิธีใน ปัจจุบันประเพณีตีพิ  ได้ถูกสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษกลายมาเป็นการละเล่นของชนเผ่าลั๊วะที่ต้องมีผู้รำ ประมาณ 18 คนขึ้นไป  ประกอบจังหวะการตีพิไปด้วยเพื่อให้เกิดความสวยงามน่าชม  ปัจจุบันในเทศกาลสำคัญ งานผ้าป่า  งานบุญต่าง ๆ  ต้องมีการแสดงตีพิและมีผู้รำเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่า ลั๊วะ

Loading

Leave a Reply